Office Syndrome โรคที่พร้อมวัยทำงานกับอาการปวดเมื่อยตามตัว

Estimated read time 1 min read

เคยเป็นกันบ้างมั้ย อาการปวดหลังหรือว่าอาการเมื่อยไหล่ ที่มาจากการทำงาน นั่นแหละคือสัญญานเตือนจากโรค Office Syndrome หากใครทำงานนั่งติดอยู่กับที่คงจะมีปัญหาแบบนี้ไม่มากก็น้อย เพราะจากอริยาบทในการทำงานแบบออฟฟิศนั้น การนั่งหลังค่อม นั่งทำงานหน้าจอคอมนาน ๆ หรืออาจรวมไปถึงความเครียดในการทำงานด้วยก็ได้

Office Syndrome

ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร ?

Office Syndrome เป็นกลุ่มของโรคที่เกิดจากลักษณะการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งโต๊ะทำงานต่อเนื่องหลายชั่วโมง ไม่ได้ขยับลุกไปไหน บางคนต้องนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์เกือบตลอดเวลา ซึ่งลักษณะเช่นนี้จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมของร่างกายหลายระบบ เช่น มีปัญหาปวดกล้ามเนื้อจากการนั่งทำงานนาน อาการชาที่มือเนื่องจากการกดทับเส้นประสาทที่มือ ปวดเสียดท้องจากการทานอาหารไม่ตรงเวลา สมรรถภาพของร่างลดลงเนื่องจากไม่มีเวลาออกกำลังกาย ฯลฯ

ตัวอย่างโรคในกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่เป็นโรคทางกระดูกและกล้ามเนื้อ ได้แก่ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืด (Myofascial pain syndrome) ปวดหลังจากท่าทางไม่เหมาะสม (Postural back pain) เส้นประสาทที่ข้อมือถูกกดทับ (Carpal tunnel syndrome) นิ้วล็อค (Trigger finger) นอกจากนี้ระบบอื่นของร่างกายอาจได้รับผลกระทบจากการนั่งทำงานอย่างต่อเนื่องเช่นกัน เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหารและกรดไหลย้อน ปวดศีรษะจากความเครียด ภาวะอ้วน เป็นต้น

อาการของโรค

ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) เป็นโรคที่พบได้มากขึ้นในปัจจุบัน มีสาเหตุสำคัญจากไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป พบได้บ่อยในกลุ่มคนวัยทำงาน มนุษย์เงินเดือนหรือพนักงานออฟฟิศที่ต้องทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ แม้โรคนี้จะชื่อออฟฟิศซินโดรม แต่ก็เกิดขึ้นได้กับคนในแทบทุกอาชีพ ไม่ใช่เฉพาะกับมนุษย์ออฟฟิศเท่านั้น เพราะหากใครก็ตามที่มีไลฟ์สไตล์ชอบทำอะไรซ้ำๆ เดิมๆ ทำงานอยู่ในท่าที่ไม่เคลื่อนไหวร่างกายเป็นเวลานานก็เสี่ยงเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน

  • ออฟฟิศซินโดรมมีอาการอย่างไร?

โรคออฟฟิศซินโดรม มีสาเหตุสำคัญมาจากไลฟ์สไตล์ เช่น การนั่งหรือยืนท่าเดิมนานๆ การนั่งผิดท่า (หลังค่อม,ไขว่ห้าง) พักผ่อนไม่เพียงพอ ขาดการออกกำลังกาย และมีความเครียดสูง เป็นต้นโดยผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดตึง หรือปวดเมื่อยบริเวณคอ บ่า ไหล่ หรือหลัง ในบางรายอาจมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย และมักจะมีอาการมากขึ้นเมื่อถูกกระตุ้นจากปัจจัยที่ได้กล่าวมา เช่น มักจะมีอาการปวดกำเริบขึ้นเมื่ออยู่ในภาวะเครียด หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ สำหรับคนทำงานออฟฟิศอาจจะเป็นช่วงที่มีงานเข้ามามากๆ อย่างเจ้าหน้าที่ที่ต้องทำตัวเลขงบประมาณ ปิดบัญชีต่างๆ ช่วงสิ้นเดือน หรือใครก็ตามที่ต้องทำงานหน้าคอมพิวเตอร์อย่างเคร่งเครียดติดต่อกันเป็นเวลานาน

  • ออฟฟิศซินโดรม อันตรายร้ายแรงหรือไม่?

เนื่องจากโรคออฟฟิศซินโดรม เป็นโรคที่เกิดจากกล้ามเนื้อที่ตึงตัวมากเกินไปจนเกิดเป็นอาการปวดตามบริเวณต่างๆ ขึ้น แต่ไม่ได้ส่งผลกระทบรุนแรงถึงชีวิต เพราะไม่ได้มีการกดทับเส้นประสาทจนทำให้เกิดเป็นความพิการถาวร แต่หากเป็นนานๆ หรือเป็นมากขึ้นๆ เพราะพฤติกรรมการใช้ชีวิต รวมถึงการขาดการออกกำลังกาย ขาดการยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่ใช้งานหนักๆ จนแข็งเกร็ง อาการก็อาจจะรุนแรงขึ้นจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตได้

  • อาการปวดแบบไหนที่อาจจะไม่ใช่ออฟฟิศซินโดรม ?

เมื่อคนทำงานออฟฟิศรู้สึกปวด เมื่อย ตึงกล้ามเนื้อ ก็มักจะทึกทักว่าเป็นออฟฟิศซินโดรม แต่แท้จริงแล้วอาการปวดบางอย่างอาจเป็นสัญญาณเตือนว่า นี่ไม่ใช่แค่โรคออฟฟิศซินโดรมธรรมดาทั่วไป หากแต่กำลังมีโรคร้ายแรงบางอย่างซ่อนเร้นอยู่ เช่น โรคหมอนรองกระดูก หรือกระดูกเสื่อมกดทับเส้นประสาท ซึ่งจะมีอาการที่รุนแรงขึ้น เช่น มีอาการปวดร้าวลงแขน แขนอ่อนแรงหรือชา ไปจนถึงไม่สามารถควบคุมการใช้มือของตัวเองได้ ทำให้ติดกระดุมและเขียนหนังสือลำบาก หากมีอาการดังที่กล่าวมา แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและรักษาให้ตรงจุดต่อไป

แนวทางการรักษา “ออฟฟิศซินโดรม”

Office Syndrome

การรักษากลุ่มอาการ “ออฟฟิศซินโดรม ” นั้นมีด้วยกันหลายวิธี ทั้ง การรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยยา การปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน การทำกายภาพบำบัดเพื่อยืดกล้ามเนื้อ การออกกำลังกายเพื่อรักษาปวดหลังเพิ่มสมรรถภาพร่างกาย และปรับอิริยาบถให้ถูกต้อง การรักษาด้วยศาสตร์ทางเลือกอื่น เช่น การฝังเข็ม การนวดแผนไทย เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม วิธีการรักษาที่ดีและเหมาะสมคือการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ โดยวิธีการที่ดีที่สุดที่จะป้องกันอาการจาก “ออฟฟิศซินโดรม” ได้นั้นคือต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงาน จัดสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ เพียงเท่านี้ก็จะทำให้สุขภาพร่างกายดีขึ้น ลดอาการบาดเจ็บจากการทำงานและเพิ่มคุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างถาวร

  • การทำกายภาพบำบัด 

เป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญในการรักษาออฟฟิศซินโดรมที่เกี่ยวข้องกับระบบกล้ามเนื้อและกระดูก โดยการรักษานอกเหนือจากการทำกายภาพบำบัดแล้ว ยังรวมถึงการประเมินโครงสร้างร่างกายและการปรับร่างกายให้เกิดความสมดุล การสร้างความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนท่าทางการทำงานตามความเหมาะสมในแต่ละบุคคล การให้ความรู้และส่งเสริมการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและถูกวิธีเพื่อให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงและยืดหยุ่น ป้องกันภาวะบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และเนื้อเยื่อที่อาจเกิดตามมาจากการออกกำลังแบบผิดวิธี รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงของโรคอื่นๆที่อาจเกิดตามมาได้ในระยะยาว และเมื่อมีอาการเกิดขึ้นและไม่สามารถทุเลาได้ด้วยการดูแลตัวเอง เช่น การพักผ่อน  นอนหลับการนวด หรือการยืดกล้ามเนื้อเพื่อผ่อนคลาย ก็ควรมาพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา และตรวจหาสาเหตุของอาการที่เกิดขึ้นว่าเป็นจากโรคทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูก หรือมีภาวะซ่อนเร้นอื่นๆ เพื่อจะได้วิเคราะห์ต้นเหตุและให้การรักษาปวดหลังได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป

  • เทคนิคการยืดเส้นยืดสายระหว่างทำงาน

1.การบริหารกล้ามเนื้อคอ เริ่มจากนำมือข้างซ้ายอ้อมไปจับศีรษะด้านขวา ดึงมาทางด้านซ้ายจนรู้สึกตึง นับ 1-10สลับใช้มือข้างขวา นับ 1-10เช่นเดียวกัน จากนั้นประสานมือบริเวณท้ายทอย ดันไปด้านหน้าจนรู้สึกตึง นับ 1-10

2.การบริหารกล้ามเนื้อหัวไหล่ สำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องของการปวดไหล่เป็นประจำ โดยยกไหล่ขึ้นไปจนสุด แล้วเกร็งค้างไว้ นับ 1-10การกดไหล่ลงไปให้สุด แล้วเกร็งค้างไว้ นับ 1-10

3.การบริหารกล้ามเนื้อด้านหน้าอก และแก้ปัญหาไหล่ห่อ ให้ลุกขึ้นยืน จากนั้นนำมือประสานกันด้านหลัง ค่อยๆ ยกขึ้นมาจนถึงระดับที่เรารู้สึกว่าตึง นับ 1-10การยืดด้านหลัง โดยการกอดตัวเองให้แน่นที่สุด ให้มือไขว้กันเยอะที่สุด โดยเอามือโอบด้านหลังของตัวเองให้มากที่สุด นับ 1-10

4.การบริหารบริเวณช่วงสะโพก บางคนมีปัญหาปวดบริเวณสะโพก ชาลงเท้า ชาลงขา จะสามารถบริหารท่านี้ได้ดี ท่าบริหารนี้จะช่วยบริหารกล้ามเนื้อบริเวณสะโพก ซึ่งมักจะไปกดทับเส้นประสาททำให้รู้สึกมีปัญหาได้ ทำโดยยกเท้าซ้ายขึ้นมาวางทับเหนือเข่าขวา จากนั้นเอนตัวมาด้านหน้า จะรู้สึกบริเวณต้นขาด้านซ้าย นับ 1-10จากนั้นสลับเท้าด้านขวา

5.การบริหารกล้ามเนื้อด้านข้าง ยืดมือขึ้นบนสุดประกบกัน จากนั้นเอนตัวทางด้านซ้าย นับ 1 -10จากนั้นเอนตัวมาด้านขวา นับ 1-10ท่าบริหารดังกล่าวควรทำบ่อยๆ ประมาณ 1-2ชั่วโมงต่อครั้ง เพื่อเป็นการยืดกล้ามเนื้อมัดหลักๆ ในร่างกาย สละเวลา 3-5นาที เพื่อสุขภาพร่างกายที่ดีและแข็งแรง

  • เคล็ดลับการป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม

1.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ (Be Fit)

2.ระวังเรื่องของท่าทาง บุคลิกของตัวเอง อย่าไหล่ห่อ อย่านั่งค่อม

3.ในเรื่องของการยกของจากพื้นควรระวัง ใช้ท่าทางที่เหมาะสม เพื่อเป็นการป้องกันโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน

4.ควรจัดสภาพแวดล้อมในที่ทำงานให้ดี และเป็นมิตรแก่ผู้ทำงานแต่แรก ทั้งด้านสถานที่ทำงาน เครื่องไม้เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ และสังคมในออฟฟิศ วางแผนการเคลื่อนไหวบนโต๊ะทำงาน โดยการจัดโต๊ะทำงาน หรือพื้นที่ทำงานให้เหมาะสม ควรจัดวางของที่ต้องใช้ให้ใกล้ตัว ใกล้มือ จะได้ไม่ต้องเอี้ยวตัวอยู่บ่อยครั้ง และไม่ต้องก้มตัวขึ้นลง หันซ้ายหันขวา ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเคล็ดได้ จัดท่าทางหรืออิริยาบถเวลานั่งทำงานให้เหมาะสม เช่น ไม่นั่งหลังงอหรือเกร็งเกินไป

5.เมื่อเกิดอาการปวดเมื่อย อย่าฝืนร่างกาย ให้เดินไปดื่มน้ำ ไปเข้าห้องน้ำ 3-5นาที เป็นการแก้ปัญหาได้แล้ว เป็นการป้องกันปัญหาได้อีกด้วย

6.ระมัดระวังการใส่ส้นสูง ถ้าไม่จำเป็นก็ให้หลีกเลี่ยง แต่ถ้าจำเป็นต้องใส่ ควรใส่ไม่เกิน 2นิ้ว หรือ 4-5เซนติเมตรเท่านั้น

7.การระมัดระวังเรื่องความเครียด เพราะความเครียดทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยได้เช่นกัน

8.ควรยกของให้ถูกต้อง ถูกท่าทาง ท่ายกที่ดี มุมจุดหมุนและน้ำหนักควรอยู่ใกล้กัน พยายามให้หลังตรงตลอด เพราะมิเช่นนั้นช่วงล่างจะเกิดอาการหมอนรองกระดูกเคลื่อนได้

9.พักผ่อนให้เพียงพอ จัดสรรเวลางานและเวลาพักผ่อนให้สมดุลกัน หากมีโอกาสควรหาเวลาพักร้อนเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศบ้าง

นอกจากสภาพแวดล้อมและลักษณะท่าทางการทำงานที่เหมาะสมแล้ว การใช้โทรศัพท์มือถือก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ 

เพราะหลายต่อหลายครั้งที่ท่าทางการใช้โทรศัพท์ที่ไม่ถูกต้อง หรือใช้มากเกินไปก่อให้เกิดความล้าและเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และข้อต่อ เพราะฉะนั้นใครที่รู้ตัวว่าใช้โทรศัพท์มือถือมากเกินความจำเป็นก็ควรปรับลดพฤติกรรมส่วนนี้ด้วย

หากบอกว่าโรคออฟฟิซซินโดรมมาจากการทำงานที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย วันนี้มาทำความ รู้จักพลังงานทดแทน ที่ต่อยอดเป็นเทคโนโลยีได้ในอนาคต พลังงานทดแทนรูปแบบต่าง ๆ ที่มีผลกับการกำเนิดเทคโนโลยี หรือไอทีที่เราใช้งานกันอย่างแพร่หลายในอนาคต โดยวันนี้จะขอนำเสนอพลังงานทดแทน 7 รูปแบบ 

อ่านบทความเพิ่มเติม 5 ละครไทยน่าดู ที่ออนแอร์จบแล้ว การันตีเรื่องความสนุก และความครบเครื่อง เมื่อท่านได้เริ่มดูแล้ว รับรองจะติดใจ จนไม่สามารถเอาตัวเองออกจากหน้าจอได้แน่นอน ส่วนจะมีเรื่องไหนติดอันดับ 1 ใน 5 บ้าง ตามไปดูกัน